เมนู

ลสิกา ไขข้อ


ต่อแต่นั้นไป ก็กำหนดว่า ซากศพที่ลื่นเป็นมันในภายในที่ต่อแห่ง
สรีระ ภายในสรีระ ชื่อไขข้อ. โดยวรรณะ ไขข้อนั้น มีสีเหมือนยางต้น
กรรณิการ์. โดยสัณฐาน มีสัณฐานเหมือนโอกาส. โดยทิศ เกิดในทิศทั้งสอง.
โดยโอกาส ให้สำเร็จกิจคือหน้าที่หยอดน้ำมันที่ต่อแห่งกระดูกทั้งหลาย ตั้งอยู่.
ภายในที่ต่อ 180 แห่ง ไขข้อนั้น ของผู้ใดมีน้อย ผู้นั้น ลุกขึ้น นั่งลงก้าวไป
ข้างหน้า ถอยมาข้างหลัง งอแขนเหยียดแขน กระดูกทั้งหลายก็จะลั่นกุบกับ
เดินไปก็เหมือนทำเสียงดีดนิ้ว เดินทางไกลไปได้แม้เพียงโยชน์หนึ่งสองโยชน์
วาโยธาตุก็กำเริบ [เป็นลม] ตัวก็ลำบาก. ส่วนไขข้อของผู้ใดมีมาก ผู้นั้น
กระดูกทั้งหลายก็ไม่ลั่นกุบกับ ในขณะลุกขึ้นและนั่งลงเป็นต้น แม้เดินทาง
นาน ๆ วาโยธาตุก็ไม่กำเริบ ตัวก็ไม่ลำบาก.
ในไขข้อนั้น กำหนดว่า ไขข้อย่อมไม่รู้ว่าเราหยอดน้ำมันที่ต่อ 180
แห่งอยู่ แม้ที่ต่อ 180 แห่งก็ไม่รู้ว่าไขข้อหยอดน้ำมันเราอยู่ เปรียบเหมือน
น้ำมัน หยอดเพลารถย่อมไม่รู้ว่า เราหยอดน้ำมันเพลารถอยู่ แม้เพลารถก็ไม่รู้
ว่า น้ำมันหยอดน้ำมันเราอยู่ ฉะนั้น ด้วยว่าธรรมเหล่านั้นเว้นจากความคิด
คำนึงและการพิจารณา ฯลฯ ไม่ใช่บุคคล. โดยปริเฉท กำหนดว่า ไขข้อติด
ตอนด้วยส่วนแห่งไขข้อ นี้เป็นการกำหนดไขข้อนั้นโดยสภาค. ส่วนการกำหนด
โดยวิสภาค ก็เช่นเดียวกับผมนั่นแล. กำหนดไขข้อโดยวรรณะเป็นต้น มีประการ
ดังกล่าวมาฉะนี้.

มุตฺตํ มูตร [ปัสสาวะ]


ต่อแต่นั้นไป กำหนดว่า โดยวรรณะ มูตรภายในสรีระมีสีเหมือน
น้ำด่างถั่วทอง โดยสัณฐาน มีสัณฐานเหมือนน้ำที่อยู่ภายในหม้อน้ำที่เต็มนา

ซึ่งเขาวางคว่ำปาก. โดยทิศ เกิดในทิศเบื้องล่าง โดยโอกาสตั้งอยู่ในกะเพาะ
ปัสสาวะ. ถุงปัสสวะ ท่านเรียกชื่อว่ากะเพาะปัสสาวะ ซึ่งเปรียบเหมือนรสน้ำ
โสโครก ย่อมเข้าไปในหม้อซึ่งที่ไม่มีปาก ซึ่งเขาวางไว้ในบ่อโสโครก ทาง
เข้าไปของรสน้ำโสโครกนั้นไม่ปรากฏ ฉันใด มูตรเข้าไปทางสรีระ แต่ทางเข้า
ไปของมูตรนั้นไม่ปรากฏ ส่วนทางออกเท่านั้นปรากฏอยู่.
ในมูตรนั้น กำหนดว่า มูตรย่อมไม่รู้ว่า เราตั้งอยู่ในกะเพาะปัสสาวะ
แม้กะเพาะปัสสาวะก็ไม่รู้ว่ามูตรตั้งอยู่ในเรา เปรียบเหมือนรสน้ำโสโครก ใน
หม้อซึ้ง ที่ไม่มีปากซึ่งเขาวางไว้ในบ่อน้ำโสโครก ย่อมไม่รู้ว่าเราอยู่ในหม้อซึ้ง
ที่ไม่มีปาก แม้หม้อซึ้งก็ไม่รู้ว่ารสน้ำโสโครกตั้งอยู่ในเรา ฉะนั้น ด้วยว่า ธรรม
เหล่านี้ เว้นจากความคิดคำนึงและการพิจารณา ฯสฯ ไม่ใช่บุคคล. โดยปริเฉท
กำหนดว่า มูตรตัดตอนด้วยภายในกะเพาะปัสสาวะ และด้วยส่วนแห่งมูตร นี้
เป็นการกำหนดมูตรนั้นโดยสภาค ส่วนการกำหนดโดยวิสภาค ก็เช่นเดียวกับ
ผมนั่นแล. กำหนดมูตร โดยวรรณะเป็นต้น มีประการดังกล่าวมาฉะนี้. พระ-
โยคาวจรกำหนดทวัตติงสาการนี้ โดยวรรณะเป็นต้น ด้วยประการฉะนี้.
เพราะอาศัยการประกอบเนือง ๆ ซึ่งภาวนาการเจริญทวัตติงสาการนั้น ๆ
ทวัตติงสาการมีผมเป็นต้น ก็ย่อมจะคล่องแคล่ว ปรากฏชัดโกฏฐาสเป็นส่วน ๆ
แก่พระโยคาวจรนั้น ผู้กำหนดทวัตติงสาการนี้ โดยวรรณะเป็นต้น ด้วยประการ
ฉะนี้ ตั้งแต่นั้นไปเมื่อบุรุษมีดวงตา ตรวจพวงมาลัยแห่งดอกไม้ทั้งหลาย ซึ่ง
มี 32 สี อันร้อยไว้ด้วยด้ายเส้นเดียวกัน ดอกไม้ทุกดอก ก็ย่อมเป็นอัน
ปรากฏไม่ก่อนไม่หลัง ฉันใด เมื่อพระโยคาวจร สำรวจกายนี้ด้วยสติว่า ใน
กายนี้มีเกสาผมเป็นต้น ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเป็นอันปรากฏไม่ก่อนไม่
หลัง ฉันนั้นเหมือนกัน สติที่ตั้งขึ้นในผมทั้งหลายที่นึกถึง ย่อมจะเป็นไปจน

ถึงมูตร ตั้งแต่นั้นไป มนุษย์และเดียรฉานเป็นต้น ที่เดินไปมา จะละอาการ
ว่าสัตว์ ปรากฏชัดแต่กองแห่งโกฏฐาสเป็นส่วนๆ เท่านั้น แก่พระโยคาวจรนั้น
และน้ำและโภชนะเป็นต้น ที่สัตว์เหล่านั้นกลืนกิน ก็จะปรากฏชัดเหมือนใส่ลง
ไปในกองโกฏฐาส.
ในข้อนี้ ผู้ทักท้วงกล่าวว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น พระโยคาวจรผู้นี้จะพึง
ทำอะไร ต่อแต่นั้นไป. ขอกล่าวชี้แจงดังนี้ นิมิตนั้นนั่นแล อันพระโยคาวจร
พึงเสพ พึงเจริญ พึงทำให้มาก พึงกำหนด ให้เป็นอันกำหนดด้วยดี ถามว่า
ก็พระโยคาวจรนี้ เสพเจริญนิมิตนั้น ทำให้มาก กำหนดให้เป็นอันกำหนด
ด้วยดีอย่างไร. ตอบว่า ความจริง พระโยคาวจรนี้เสพนิมิตที่ทวัตติงสาการมี
ผมเป็นต้น ปรากฏ เป็นโกฏฐาสส่วนๆ นั้น ย่อมผูก คบ เข้าไปใกล้ด้วยสติ
ให้ใจยึดห้องคือสติ หรือทำสติที่ได้ในนิมิตนั้น ให้งอกงาม ท่านเรียกว่าเจริญ
นิมิตนั้น. ข้อว่าทำให้มาก ได้แก่ท่านิมิตนั้นบ่อย ๆ ให้ประกอบด้วยสติ อันวิตก
และวิจารเข้ากระทบแล้ว. ข้อว่ากำหนดให้เป็นอันกำหนดด้วยดี ได้แก่นิมิต
เป็นอันกำหนดด้วยดี ไม่หายไปอีก โดยประการใด พระโยคาวจรย่อมกำหนด
เข้าไปรองรับเข้าไปผูกนิมิตนั้นไว้ด้วยสติ โดยประการนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง มนสิการโกศล ความฉลาดในมนสิการอันใด ที่กล่าวไว้
แต่ก่อน 10 ข้ออย่างนี้คือ โดย 1. โดยลำดับ 2. โดยไม่เร่งนัก 3. โดย
ไม่ช้านัก 4. โดยป้องกันความฟุ้งซ่าน 5. โดยล่วงบัญญัติเสีย 6. โดยปล่อย
ลำดับ 7. โดยลักษณะ 8. 9. 10. สูตรทั้ง 3. ในมนสิการโกศลนั้น พึง
ทราบว่า พระโยคาวจรนมสิการใส่ใจโดยลำดับ ชื่อว่า เสพ. มนสิการโดยไม่
เร่งนัก และโดยไม่ช้านัก ชื่อว่า เจริญ มนสิการโดยป้องกันความฟุ้งซ่าน
ชื่อว่าทำให้มาก มนสิการโดยล่วงบัญญัติเป็นต้น ชื่อว่า กำหนดให้เป็นอัน
กำหนดด้วยดี.

ในข้อนี้ผู้ทักท้วงกล่าวว่า พระโยคาวจรนี้ มนสิการธรรมเหล่านั้น โดย
มนสิการโกศลมีโดยลำดับเป็นต้นอย่างไร. ขอกล่าวชี้แจงดังนี้ ความจริง
พระโยคาวจรนี้ ครั้นมนสิการผมแล้ว ลำดับจากนั้น ก็มนสิการขน ไม่มนสิ-
การเล็บ. ในอาการทุกอย่างก็นัยนี้ เพราะเหตุไร. เพราะว่าพระโยคาวจร
เมื่อมนสิการผิดลำดับ ก็มีจิตลำบาก ก็ไปจากทวัตติงสาการภาวนา เจริญ
ภาวนาไม่สำเร็จ เพราะไม่ได้อัสสาทะความสดชื่นที่ควรได้โดยภาวนาสมบัติ
เปรียบเหมือนบุรุษผู้ไม่ฉลาดขึ้นบันใด 32 ขึ้น ผิดสำหรับ ก็ลำบากกายย่อม
ตกบันไดนั้น ขึ้นบันใดไม่สำเร็จ ฉะนั้น.
อนึ่ง พระโยคาวจรแม้มนสิการโดยลำดับ ก็มนสิการไม่เร็วเกินไปว่า
เกสา โลมา. เพราะว่า พระโยคาวจรเมื่อมนสิการเร็วเกินไป ก็ไม่อาจกำหนด
สีและสัณฐานเป็นต้น ที่พ้นจากทวัตติงสาการ แต่นั้น ก็จะไม่ฉลาดในทวัตติง-
สาการ และกรรมฐานก็จะเสื่อมเสียไป เปรียบเหมือนบุรุษ กำลังเดินทางไกล
ไม่อาจกำหนด ทางเรียบ ทางขรุขระต้นไม้ ที่ดอนที่ลุ่ม ทางสองแพร่งเป็นต้น
ที่พ้นไปจากหนทาง แต่นั้น ก็จะไม่ฉลาดในหนทาง การเดินทางไกล ก็จะ
สิ้นไป ฉะนั้น.
อนึ่ง พระโยคาวจร มนสิการโดยไม่เร่งนัก ฉันใด ก็มนสิการ แม้
โดยไม่ชักช้านักฉันนั้น เพราะว่า พระโยคาวจรเมื่อมนสิการชักช้านัก ก็จะ
ไม่ถึงความสำเร็จทวัตติงสาการภาวนา แต่จะถึงความย่อยยับด้วยกามวิตกเป็น
ต้น ในระหว่าง เพราะขาดภาวนา เปรียบเหมือนบุรุษเดินทางไกล ถูกหน่วง
เหนี่ยวอยู่ที่ต้นไม้ ภูเขา และหนองน้ำเป็นต้น ในระหว่างทาง ก็ไม่ถึงถิ่นที่
ประสงค์ แต่จะถึงความย่อยยับ ด้วยสิงห์โตและเสือเป็นต้น ในระหว่าง
นั้นเอง ฉะนั้น.

อนึ่ง พระโยคาวจรแม้มนสิการโดยไม่ชักช้านัก ก็มนสิการแม้โดย
ป้องกันความฟุ้งซ่านเสีย พระโยคาวจรย่อมมนสิการ โดยประการที่จะไม่ฟุ้ง-
ซ่าน เพราะงานอื่น ๆ มีงานนวกรรม การก่อสร้างเป็นต้น พระโยคาวจร ผู้
มีจิตฟุ้งซ่านไปภายนอก มีความตรึกแห่งจิตไม่ตั้งมั่นในทวัตติงสาการมีผม
เป็นต้น ก็ไม่ถึงความสำเร็จแห่งภาวนา จะถึงความย่อยยับเสียในระหว่างนั้น
เองเหมือนสหายของพระโพติสัตว์ ย่อยยับเสียในการเดินทางไปกรุงตักกสิลา
ส่วนพระโยคาวจรผู้มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน มีความตรึกแห่งจิตตั้งมั่นในทวัตติงสาการ
มีผมเป็นต้น ก็ถึงความสำเร็จแห่งภาวนา เหมือนพระโพติสัตว์ถึงความสำเร็จ
แห่งราชสมบัติในกรุงตักกสิลา ธรรมเหล่านั้น ย่อมปรากฏโดยอสุภะ โดยสีหรือ
โดยความว่างเปล่า ด้วยอำนาจบารมี จริยาและความน้อมใจเธอแก่พระโยคาว-
จรนั้น ผู้มนสิการโดยป้องกันความฟุ้งซ่าน ด้วยประการฉะนี้.
อนึ่ง พระโยคาวจรนมสิการธรรมเหล่านั้น โดยล่วงบัญญัติ. ข้อว่า
โดยล่วงบัญญัติ ได้แก่มนสิการล่วงเลยสละเสียซึ่งโวหารเป็นต้นอย่างนี้ว่า เกสา
โลมา โดยเป็นอสุภเป็นต้น ตามที่ปรากฏแล้ว. มนสิการอย่างไร. เปรียบ
เหมือนมนุษย์ทั้งหลาย ที่เข้าไปอาศัยอยู่ในน้ำ ทำเครื่องหมายหักกิ่งไม้เป็นต้น
เพื่อจำสถานที่มีน้ำไว้เพราะเป็นภูมิภาคที่ไม่คุ้นเคย ไปตามแนวเครื่องหมายนั้น
ย่อมบริโภคน้ำได้ แต่เมื่อใด คุ้นเคยภูมิภาคแล้ว ก็ปล่อยไม่สนใจเครื่องหมาย
นั้นเข้าไปยังสถานที่มีน้ำ บริโภคน้ำได้ ฉันใด พระโยคาวจรนี้ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน มนสิการธรรมเหล่านั้น โดยโวหารนั้น ๆ มีเกสา โลมาเป็นต้นไป
ก่อน เมื่อธรรมเหล่านั้น ปรากฏชัดโดยอารมณ์มีอสุภเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง
ล่วงเลยปล่อยโวหารนั้น มนสิการโดยอารมณ์มีอสุภเป็นต้นแล.
ในข้อนั้น ผู้ทักท้วงกล่าวว่า ธรรมเหล่านั้น ปรากฏโดยความเป็นอสุภะ
เป็นต้นแก่พระโยคาวจรนั้นอย่างไร โดยวรรณะอย่างไร หรือโดยความเป็น

ของว่างเปล่าอย่างไร. อนึ่ง พระโยคาวจร มนสิการธรรมเหล่านี้โดยอสุภะ
อย่างไร โดยวรรณะอย่างไร หรือโดยความว่างเปล่าอย่างไร. ก่อนอื่น ผม
ทั้งหลายย่อมปรากฏแก่พระโยคาวจรนั้นโดยอสุภะ เป็น 5 ส่วน คือ วรรณะ สี
สัณฐาน ทรวดทรง คันธะกลิ่น อาสยะ ที่อยู่และโอกาสที่เกิด พระโยคาวจรนี้ก็
มนสิการธรรมเหล่านี้ เป็น 5 ส่วนนั่นแล โดยอสุภะ อย่างไรเล่า. ธรรมดา
ผมเหล่านั้นโดยวรรณะ ไม่งาม เป็นของปฏิกูลน่าเกลียดอย่างยิ่ง. จริงอย่างนั้น
มนุษย์ทั้งหลาย เห็นเปลือกไม้หรือเส้นด้าย มีสีเหมือนผม ซึ่งตกลงไปในน้ำ
และข้าวเวลากลางวัน ย่อมทิ้งหรือเกลียดน้ำและข้าว แม่เป็นของชอบใจ ด้วย
สำคัญว่าผม. แม้โดยสัณฐาน ก็ไม่งาม จริงอย่างนั้น มนุษย์ทั้งหลาย กระทบ
เปลือกไม้หรือเส้นด้าย ซึ่งมีสัณฐานเหมือนผม ซึ่งตกลงไปในน้ำข้าว เวลา
กลางคืน ย่อมทิ้งหรือเกลียดน้ำข้าวแม้เป็นของชอบใจ ด้วยสำคัญว่าผม. แม้
โดยกลิ่นก็ไม่งาม. จริงอย่างนั้น ผมทั้งหลายที่เว้นการตกแต่งมีทาน้ำมัน ติด
ดอกไม้ รมควันเป็นต้น กลิ่นน่ารังเกียจอย่างยิ่ง คนสูดกลิ่น ผมที่โยนใส่ใน
ไฟ ต้องปิดจมูก เบือนหน้าหนี. แม้โดยที่อยู่ก็ไม่งาม. จริงอย่างนั้น ผม
เหล่านั้น สะสมแล้ว ก็เพิ่มพูนไพบูลย์ด้วยการไหลมาคั่งกันของดี เสมหะ น้ำ-
เหลืองและเลือด เหมือนต้นกะเพราเป็นต้นในกองขยะ ด้วยการไหลมาคั่งกัน
ของสิ่งไม่สะอาดของมนุษย์นานาชนิด. แม้โดยโอกาส ก็ไม่งาม. จริงอย่าง
นั้น ผมเหล่านั้น เกิดในหนังอ่อน ที่คลุมศีรษะของมนุษย์ทั้งหลาย เหนือ
ยอดกองซากศพ 31 มีขนเป็นต้น ซึ่งน่าเกลียดอย่างยิ่งเหมือนต้นกระเพราเป็น
ต้นในกองขยะ. ในซากศพ 31 มีขนเป็นต้น ก็นัยนี้. พระโยคาวจรนี้ มน-
การธรรมเหล่านี้ ที่ปรากฏโดยอสุภะ โดยความเป็นของไม่งาม ด้วยประการ
อย่างนี้ก่อน.

ถ้าหากว่า ธรรมเหล่านี้ปรากฏแก่พระโยคาวจรนั้น โดยวรรณะเมื่อ
เป็นดังนั้น ผมทั้งหลายก็ปรากฏ โดยเป็นนีลกสิณ. ขน ฟัน ก็อย่างนั้น ย่อม
ปรากฏ โดยเป็นโอทาตกสิณ. ในทวัตติงสาการทุกอย่าง ก็นัยนี้. พระโย-
คาวจรนี้ ย่อมมนสิการธรรมเหล่านี้ โดยเป็นกสิณนั้น ๆ นั้นแล. ธรรมที่
ปรากฏโดยวรรณะอย่างนี้ พระโยคาวจรก็มนสิการโดยวรรณะ ก็ถ้าหากว่า
ธรรมเหล่านั้นปรากฏแก่พระโยคาวจรนั้น โดยความเป็นของว่างเปล่า เมื่อเป็น
ดังนั้น ผมทั้งหลายย่อมปรากฏ โดยเป็นการประชุมวินิพโภครูปที่มีโดชะครบ 8
ด้วยการกำหนดแยกออกจากกลุ่มก้อน. ขนเป็นต้น ก็ปรากฏเหมือนอย่างที่ผม
ปรากฏ. พระโยคาวจรนี้ ย่อมมนสิการธรรมเหล่านั้น อย่างนั้นเหมือนกัน.
ธรรมที่ปรากฏโดยความเป็นของว่างเปล่าอย่างนี้ ก็มนสิการโดยความเป็นของ
ว่างเปล่า.
พระโยคาวจรนี้ มนสิการอยู่อย่างนี้ ชื่อว่า มนสิการธรรมเหล่านั้น
โดยลำดับ. ข้อว่าโดยปล่อยลำดับ อธิบายว่า พระโยคาวจร ปล่อยผมที่ปรากฏ
โดยเป็นอสุภะเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง และมนสิการขน เป็นผู้เพ่งเฉยอยู่ใน
ผมทั้งหลายแล้วมนสิการขนทั้งหลาย เมื่อตั้งมนสิการในขนทั้งหลาย ก็ชื่อว่า
ปล่อยผม เปรียบเหมือนปลิง เพ่งเฉยอยู่ที่ประเทศอันจับไว้ด้วยหาง ปล่อย
ประเทศอื่นทางจะงอยปาก เมื่อจับประเทศนั้นไว้ ก็ชื่อว่าปล่อยประเทศนอกนี้
ฉะนั้น. ในทวัตติงสาการทุกอย่าง ก็นัยนี้. ก็ธรรมเหล่านั้น เมื่อปรากฏ
แก่พระโยคาวจรนั้น ผู้มนสิการ โดยปล่อยลำดับอย่างนี้ ย่อมปรากฏไม่เหลือเลย
ทั้งปรากฏว่าปรากฏชัดกว่า.
เนื้อเป็นดังนั้น ธรรมเหล่าใด ปรากฏโดยความเป็นของไม่งามแก่
พระโยคาวจรใด ทั้งปรากฏว่าปรากฏชัดกว่า เปรียบเหมือนลิงถูกพรานไล่
ตะเพิดไปในดงตาล 32 นี้ ไม่หยุดอยู่แม้แต่ต้นเดียว โลดโผไป เมื่อใด

กลับก็ล้า เมื่อนั้น จึงหยุดอิงตาลอ่อนอันสะอาด ที่หุ้มห่อด้วยใบตาลทึบต้น
หนึ่งเท่านั้น ฉันใด ลิงคือจิตของพระโยคาวจรนั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน อัน
พระโยคาวจรนั้นนั่นแหละไล่ตะเพิดไปอยู่ในกายนี้ ที่มี 32 โกฏฐาสคือส่วน
ไม่หยุดอยู่แม้แต่ส่วนหนึ่ง โลดไป เมื่อใดกลับ เพราะไม่มีความปรารถนาในอัน
แล่นไปสู่อารมณ์เป็นอันมาก ก็เหน็ดเหนื่อย [ล้า] เมื่อนั้น ธรรมใดของพระ-
โยคาวจรนั้น คล่องแคล่วหรือเหมาะแก่จริตกว่าในส่วน 32 มีผมเป็นต้น หรือ
เป็นผู้บำเพ็ญบารมีไว้ก่อนในธรรมใด ก็อิงธรรมนั้นหยุดอยู่โดยอุปจารสมาธิ
เมื่อเป็นดังนั้น พระโยคาวจรทำนิมิตนั้นนั่นแล ให้เป็นอันถูกความตรึก จรด
ถูกวิตกจรดบ่อย ๆ ก็จะทำปฐมฌานให้เกิดขึ้นตามลำดับ ตั้งอยู่ในปฐมฌาน
นั้นแล้ว เริ่มวิปัสสนา ย่อมบรรลุอริยภูมิได้.
อนึ่ง ธรรมเหล่านั้น ย่อมปรากฏโดยวรรณะแก่พระโยคาวจรได้
เปรียบเหมือนลิงถูกพรานไล่ตะเพิดไปในดงตาล 32 ต้น ไม่หยุดอยู่แม้แต่ต้น
เดียว เมื่อใดกลับก็เหนื่อยล้า เมื่อนั้น จึงหยุดอิงตาลอ่อนอันสะอาด ที่หุ้มห่อ
ด้วยใบตาลทึบต้น หนึ่งเท่านั้น ฉันใดลิงคือจิตของพระโยคาวจรนั้น ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน อันพระโยคาวจรนั้นนั่นแหละ ไล่ตะเพิดไปอยู่ในกายนี้ที่มี 32 ส่วน
ไม่หยุดอยู่แม้แต่ส่วนหนึ่ง โลดไป เมื่อใดกลับ เพราะไม่มีความปรารถนา
แล่นไปในอารมณ์เป็นอันมาก ก็เหนื่อยล้า เมื่อนั้น ธรรมใดของพระโยคาวจร
นั้น คล่องแคล่วหรือเหมาะแก่จริตกว่า ใน 32 ส่วนมีผมเป็นต้น หรือเป็น
ผู้บำเพ็ญบารมีมาแต่ก่อนในธรรมใด ก็อิงธรรมนั้น หยุดอยู่โดยอุปจารสมาธิ
เมื่อเป็นดังนั้น พระโยคาวจรทำนิมิตนั้นนั่นแล ให้เป็นอันถูกความตรึกจรด
ถูกวิตกจรดบ่อย ๆ ก็จะทำให้เกิดรูปาวจรฌานแม้ทั้ง 5 โดยนีลกสิน หรือโดย
ปิตกสิณ ตามลำดับ และตั้งอยู่ในรูปาวจรฌานนั้น อย่างใดอย่างหนึ่ง เริ่ม
เจริญวิปัสสนา ก็จะบรรลุอริยภูมิได้.

อนึ่ง ธรรมเหล่านั้น ปรากฏโดยความเป็นของว่างเปล่า แก่พระ-
โยคาวจรใด พระโยคาวจรนั้น ย่อมมนสิการโดยลักษณะ เมื่อมนสิการโดย
ลักษณะ ย่อมบรรลุอุปจารฌาน โดยกำหนดธาตุ ในธรรมเหล่านั้น เมื่อ
เป็นดังนั้น เมื่อมนสิการ ก็มนสิการธรรมเหล่านั้น โดยสูตรทั้ง 3 คือ ไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา. นี้เป็นวิปัสสนานัยของพระโยคาวจรนั้น. พระโยคาวจร
เริ่มเจริญวิปัสสนานี้และปฏิบัติไปตามลำดับ ก็ย่อมบรรลุอริยภูมิแล.
ก็คำใดข้าพเจ้ากล่าวไว้ว่า ก็พระโยคาวจรนี้ มนสิการธรรมเหล่านี้
อย่างไร คำนั้นก็เป็นอันข้าพเจ้าพยากรณ์แล้ว ด้วยกถามีประมาณเพียงเท่านี้.
อนึ่งเล่า คำใดข้าพเจ้ากล่าวไว้ว่า พึงทราบการพรรณนาปาฐะนั้นอย่างนี้ โดย
ภาวนา. ความของคำนั้น ก็เป็นอันข้าพเจ้าประกาศแล้วแล.

ปกิณณกนัย


นัยเบ็ดเตล็ด


บัดนี้ พึงทราบปกิณณกนัยนี้ เพื่อความชำนาญและความฉลาด ใน
ทวัตติงสาการนี้ว่า
นิมิตฺตโต ลกฺขณโต ธาตุโต สุญฺญโตปิ จ
ขนฺธาทิโต จ วิญฺเญยฺโย ทฺวตฺตึสาการนิจฺฉโย.
พึงทราบการวินิจฉัยทวัตติงสาการ โดยนิมิต โดย
ลักษณะ โดยธาตุ โดยความว่างเปล่า และโดยขันธ์
เป็นต้น.